ทรัพย์สินทางปัญญา
หมายถึง
ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ คือ
ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น
และอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน
เป็นต้น ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา โดยทั่วๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า
"ลิขสิทธิ์" ซึ่งใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท
โดยที่ถูกต้องแล้วทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ที่เรียกว่า ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม
แท้ที่จริงแล้ว ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมนี้
เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม
ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม
ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่
หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า
หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ซื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า
ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม จึงสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
สิทธิบัตร (Patent)
เครื่องหมายการค้า (Trademark)
แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Designs Of Integrated Circuit)
ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)
สิทธิบัตร (Patent)
เครื่องหมายการค้า (Trademark)
แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Designs Of Integrated Circuit)
ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)
ลิขสิทธิ์
หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม
ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ลิขสิทธิ์ยังรวมทั้ง
สิทธิค้างเคียง (Neighbouring Right) คือ การนำเอางานด้านลิขสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง
ผู้บันทึกเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ในการบันทึกหรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program หรือ Computer Software) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน งานฐานข้อมูล (Data Base) คือ
ข้อมูลที่ได้รับเก็บรวบรวมขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ
สิทธิบัตร
หมายถึง
หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product
Design) หรือ
ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด
เครื่องหมายการค้า
หมายถึง
เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้า หรือบริการ ได้แก่
เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
เช่น โค้ก เป๊ปซี่ บรีส แฟ้บ เป็นต้น เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ
เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับการบริการ
เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น
เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น เครื่องหมายรับรอง (Certification mark) คือเครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น
เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ
เป็นต้น เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ
เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมาบบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน
หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น
ตราช้างของบริษัทปูนซิเมนไทย จำกัด เป็นต้น
พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 คือ กฏหมายป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งการเข้าไปแก้ไขทำลายข้อมูลหรือ
การแฮกระบบคอมพิวเตอร์ผู้อื่นจนก่อให้เกิดความเสียหาย
หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูลเท็จลามกอนาจารกระทบเศรษฐกิจ สังคม
และความมั่นคงของรัฐ จะมีอัตราโทษแตกต่างกันตามความผิด อาทิ มาตรา 5 ผู้ที่เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง
มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะที่ มาตรา 16 ผู้ที่ตัดต่อดัดแปลงภาพบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยเจตนาให้เสียชื่อเสียง
อับอาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรื