วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สมุนไพรไทย

  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydnocarpus anthelminthicus Pieere ex Laness.
  •  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 ม. ล้าต้นเปลา ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายสอบเรียว โคนสอบหรือมน เบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ เส้นแขนงใบ และเส้นใบย่อยเห็นได้ชัดทางด้านล่าง ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออก เดี่ยวๆ ตามง่ามใบ กลิ่นหอมมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนอ่อนนุ่มทั้ง 2 ด้าน กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู เกสรเพศผู้ 5 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอก เหมือนกับดอกเพศผู้ เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 5 อัน ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก รังไข่รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ มีขนสั้นๆ ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 ซม. ผิวเรียบ เปลือกแข็ง มีขนหรือ เกล็ดสีน้าตาล มี 30-50 เมล็ด อัดกันแน่น เมล็ดรูปไข่ เบี้ยว ปลายทั้ง 2 ข้างมน ส่วนที่ใช้ : ผลแก่สุก เมล็ด น้้ามันในเมล็ด (Chaumoogra Oil) สรรพคุณ : ผลแก่สุก - ใช้รับประทานเนื้อในเป็นอาหารคล้ายเผือกต้ม น้้ามันในเมล็ด - ใช้ดัดแปลงทางเคมีเป็นยารับประทานหรือยาฉีดหรือยาทาภายนอก บ้าบัดโรงเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด และโรคผิวหนัง ผื่นคันที่มีตัวทุกชนิด เพราะมีรสเมา สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี - ใช้ปรุงเป็นน้้ามันใส่ผมรักษาโรคบนศีรษะได้ด้วย
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murraya paniculata (L.) Jack. ชื่อสามัญ : Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine วงศ์ : RUTACEAE
  •  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบ ประกอบ ผิวใบมันเข้ม และเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก สีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่น หอมมาก ผล สดกลมรี หรือรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ที่เปลือกมีต่อมน้้ามันเห็นได้ชัด กว้าง 5-8 มม. ยาว 0.8-1 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง เมล็ดรูปไข่ปลายสอบ มีขนสั้นๆ อยู่รอบ เมล็ด กว้าง 4-6 มม. ยาว 6-9 มม. สีขาวขุ่น มีจ้านวน 1-2 เมล็ดต่อผล ส่วนที่ใช้ : ก้านและใบ - เก็บได้ตลอดปี ใช้สดหรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ สรรพคุณ : ก้านและใบ - รสเผ็ด สุขุม ขม ใช้เป็นยาชาระงับปวด แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น แก้แผล เจ็บปวดเกิดจากการกระทบกระแทก ต้มอมบ้วนปาก แก้ปวดฟัน ราก - รสเผ็ด ขม สุขุม ใช้แก้ปวดเอว แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น และที่เกิดจากแมลงกัดต่อย ใบ - ขับพยาธิตัวตืด แก้บิด แก้ท้องเสีย ราก, ใบ - เป็นยาขับประจ้าเดือน ดอก, ใบ - ช่วยย่อย แก้ไขข้ออักเสบ แก้ไอ เวียนศีรษะ ผลสุก - รับประทานเป็นอาหารได้
  •  ชื่อวิทยาศาสตร์ : ชื่อสามัญ : วงศ์ : Citrus hystrix DC. Leech lime, Mauritus papeda Rutaceae
  •  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้าตาล มี หนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและ โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้้ามันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่น หอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบ เลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคน ผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้้ามัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ด กลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ ผล ผิวจากผล สรรพคุณ : ราก - กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ ใบ - มีน้ามันหอมระเหย ผล, น้้าคั้นจากผล - ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ท้าให้ผมสะอาด ผิวจากผล - ปรุงเป็นยาขับลมในล้าไส้ แก้แน่น - เป็นยาบ้ารุงหัวใจ
  •  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia schomburgkiana Pierre. วงศ์ : Clusiaceae (Guttiferae)
  •  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 7-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกต้นเรียบ สีน้าตาล อมด้า ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 2.5 ซม. ยาว 9 ซม. ปลายใบและโคน ใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบลื่น สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 0.5-1 ศทซ ดอก ออกดอกเดี่ยว หรือเป็นกระจุก 3-6 ดอก ตามซอกใบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบ เลี้ยงมี 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายกลีบดอกมน ดอกเพศผู้มี เกสรเพศผู้ 10-12 อัน ผล รูปรีปลายแหลม ผิวเรียบสีเขียว เป็นมันลื่น มีรสเปรี้ยว เมล็ดมี 3-4 เมล็ด ติดกัน ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ผล สรรพคุณ : ใบและราก - เป็นยาดอกเปรี้ยวเค็ม และปรุงเป็นยาต้ม - เป็นยาระบายอ่อนๆ - เป็นยาสกัดเสมหะในล้าคอดี ผล - เป็นยาสกัดเสมหะในล้าคอดี
  •  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L. ชื่อสามัญ : Holy basil, Sacred Basil วงศ์ : Lamiaceae (Labiatae)
  •  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพรา แดงล้าต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวล้าต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็น ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือ แหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจ้านวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่าง ยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมี เมล็ด สีด้า รูปไข่ ส่วนที่ใช้ : ใบสด สรรพคุณ : ใช้ใบสดของกะเพรา ถ้าเป็นกะเพรา แดงจะมีฤทธิ์แรงยิ่งขึ้น ขยี้ทาตรงหัวหูด เช้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุด
  •  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anacardium occidentale L. ชื่อสามัญ : Cashew nut tree วงศ์ : ANACARDIACEAE
  •  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 12 เมตร เปลือกเรียบ สีน้าตาล ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กลับถึงรูปรีกว้าง โคนใบแหลม ปลายใบกลม ใบหนาเหมือนแผ่นหนัง เกลี้ยง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงหรือช่อเชิงหลั่น ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ สีเขียวอ่อน มีแถบสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง ดอกแยกเพศร่วมต้น สีขาวนวล ดอกมีกลิ่นหอม ผลเปลือก แข็งเมล็ดเดียว รูปไต สีน้าตาลปนเทา เมล็ดรูปไต ส่วนของฐานรองดอกขยายใหญ่ อวบน้้า รูประฆังคว่้า มีกลิ่นหอม กินได้ ส่วนที่ใช้ : ยางจากผลสด ที่ยังไม่สุก 1 ผล ที่เด็ดออกมาใหม่ๆ, ยางจากต้น เมล็ด สรรพคุณ : ยางจากผลสด ยางจากต้น - เป็นยารักษาหูด เมล็ด - ผสมยารับประทาน แก้กลากเกลื้อน และโรค ผิวหนัง แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน ยางจากต้น - ท้าลายตาปลา และกัดท้าลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต - แก้เลือดออกตามไรฟัน
  •  ชื่อวิทยาศาสตร์ : ชื่อสามัญ : วงศ์ : Cymbopogon nardus Rendle Citronella grass GRAMINEAE
  •  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วง แดง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบ เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 12 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม (ตะไคร้หอมใบยาวและนิ่ม กว่าตะไคร้ธรรมดาเล็กน้อย ท้าให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า) ดอก ช่อ สีน้าตาลแดง แทง ออกจากกลางต้น ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบสด น้้ามันของต้นตะไคร้หอม สรรพคุณ : น้้ามันสะกัดตะไคร้หอม - ปรุงกับน้้าหอมทาตัวป้องกันยุงกัด - ใส่กระบอกสูบผสมกับน้้ามันอื่นฉีดไล่ยุงได้ดีมาก ทั้งต้น -ใช้ตะไคร้หอม 4-5 ต้น น้ามาทั้งต้น ทุบๆ วางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ กลิ่นน้้ามันหอมระเหยออกมา ยุง แมลงจะหนีหมด
  •  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucalyptus globulus Labill. (Eucalyptus citriodora Hook.) ชื่อสามัญ : Eucalyptus วงศ์ : MYRTACEAE
  •  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ค่อนข้างกลม ล้า ต้นเปลาตรง เปลือก เปลือกหุ้มล้าต้น มีลักษณะเรียบเป็นมัน มีสีเทาสลับสีขาวและน้้าตาลแดงเป็นบางแห่ง เปลือกนอกจะแตกร่อนเป็นแผ่นหลุดออกจากผิวของล้าต้น เมื่อแห้งจะลอกออกได้ง่ายในขณะสด ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) เรียงสลับ เป็นรูปหอกยาว 3-12 นิ้ว กว้าง 0.5-0.8 นิ้ว ก้านใบยาว ใบสีเขียวอ่อนหม่นๆ ทั้งสองด้าน ใบห้อยลง เส้นใบมองเห็นได้ชัด ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามข้อต่อระหว่างกิ่งกับใบ มีก้านดอกเรียวยาว มีก้านย่อยแยกไปอีก ออกดอกเกือบตลอดปี ผล ผลมีลักษณะครึ่งวงกลมหรือรูปถ้วย ผิวนอกแข็ง เมื่ออ่อนจะมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้าตาลเมื่อแก่ เมื่อผลแก่ปลายผลจะแยกออก ส่วนที่ใช้ : ใบสด น้้ามันที่กลั่นได้จากใบสด สรรพคุณ : เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ บรรเทาอาการข้ออักเสบ ไล่ หรือ ฆ่ายุง แมลง
  •  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra var. gratum วงศ์ : Myrtaceae
  •  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มต้นไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้าตาลแดง แตกสะเก็ด แผ่นบางๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อซี่ร่มเล็กๆ สีเหลืองอ่อน ออกที่ปลายยอด ออกดอก เดือน มีนาคม-เมษายน ผล กลม สีขาว มีขนาดเล็ก ออกผลเดือน พฤษภาคมมิถุนายน ส่วนที่ใช้ : ใบสด สรรพคุณและวิธีใช้ : ใช้ใบสด ต้าป่นปิดพอกแก้เคล็ดยอก ฟกบวมได้ดี ใช้ผลมะกรูด หรือใบพลู รมควัน ใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ นาบท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก แก้ปวดท้องได้ดีมาก
  •  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lonicera japonica Thunb. ชื่อสามัญ : Honey Suckle วงศ์ : Caprifoliaceae
  •  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา กิ่งสีน้าตาลเป็นมัน มีขนนุ่ม ใบเดี่ยวเกิดเป็นคู่ตรงกันข้าม มี ขนตามเส้นกลางใบทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น ดอกมีสีเหลืองอมส้ม กลิ่น หอม ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นหลอดยาว 1.5-3 ซม. แยกเป็น 2 กลีบๆ บนมี 4 หยัก กลีบล่างมี 1 กลีบ เกสรเพศผู้ยาวกว่ากลีบดอก ผลกลมสีด้า เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-7 ซม. เกลี้ยง ไม่มีขน ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ดอกตูม เถาสด สรรพคุณ : ทั้งต้น -ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้แผลฝีต่างๆ - แก้ท้องร่วง ตับอักเสบ โรคล้าไส้ - ปวดเมื่อยตามข้อ ดอกตูม - ใช้รักษาโรคผิวหนัง - ดอกคั้นรับประทานเป็นยาเจริญอาหาร เถาสด - ใช้รักษา บิดไม่มีตัว (ท้องเสีย) ล้าไส้อักเสบ